วิชา เศรษฐศาสตร์ มี ความ หมาย อย่างไร?
Thanut Pookusuwan
- 0
- 25
เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาหนึ่งของวิชาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคน เพราะเป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการแสวงหาวิธีนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อสนองตอบความต้องการที่มีอย่างไม่จำกัดของตนเองให้ได้มากที่สุดโดยต้องให้เกิดปะโยชน์อย่างเต็มที่ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ประเทศชาติ รวมทั้งระดับโลก ทำให้วิชาเศรษฐศาสตร์มีขอบเขตกว้างขวาง และมีผลต่อความอยู่รอดของสังคมด้วย
เศรษฐศาสตร์ (Economics) หมายถึง แขนงวิชาหนึ่งทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อสนองความต้องการอย่างไม่มีจำกัดของมนุษย์ สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง มาใช้ผลิตสินค้าและบริการอย่างประหยัดที่สุด หรืออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อให้
เศรษฐศาสตร์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับวิธีการควบคุมและกระจายทรัพยากรของมนุษย์ คำว่าเศรษฐศาสตร์ในภาษาอังกฤษคือ Economics มาจากคำว่า Oikonomia ในภาษากรีกโบราณ ซึ่งมีความหมายว่า การจัดระเบียบเรื่องในบ้าน และ การบริหารจัดการภาระหน้าที่ เดิมทีเศรษฐศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชารัฐศาสตร์ ที่เพิ่งแยกออกมาเป็นวิชาของตัวเองช่วงปลายศตวรรษที่ 19
Contents
ความหมายของคําว่า เศรษฐศาสตร์ คืออะไร?
คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน ( oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชา เศรษฐศาสตร์การเมือง เมื่อปลายศตวรรษที่ 19
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ คืออะไร?
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และ รัฐบาล แม้แต่ทั้งด้าน อาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และ วิทยาศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจํากัด?
ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว ‘เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด’
เศรษฐศาสตร์สํานักคลาสสิกใหม่ใช้สมมติฐานว่าระดับราคาและค่าแรง?
เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกใหม่ใช้สมมติฐานว่าระดับราคาและค่าแรงนั้นปรับตัวโดยอัตโนมัติเพื่อเข้าสู่ภาวะการจ้างงานสมบูรณ์ ขณะที่เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ใหม่นั้นมองว่าการจ้างงานสมบูรณ์นั้นมีได้แต่ในระยะยาว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีนโยบายรัฐและธนาคารกลางแทรกแซงเพราะว่า ‘ระยะยาว’ ที่ว่าอาจจะยาวนานเกินไป